วันพฤหัสบดีที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2555

บันทึกการเข้าเรียน ครั้งที่7



บันทึกการเข้าเรียน ครั้งที่
วัน พฤหัสบดี ที่ 13 ธันวาคม 2555 (ตอนเช้า)
วิชา การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย


      ในการเรียนการสอนวันนี้ อาจารย์ได้ถาม นักศึกษาถึงความหมายของคู่มือ และ ทำไมถึงต้องอ่านคู่มือก่อนใช้ ?

คำตอบของนักศึกษาส่วนใหญ่ คือ  คู่มือ หมายถึง บอกมาตรฐาน,บอกวิธีการ,ความสำคัญ,การปฏิบัติ

- มาตราฐาน คือ สิ่งที่น่าเชื่อถือ , บอกสิ่งนี้มีคุณภาพ , ยอมรับได้และเป็นแนวทางในการนำไปใช้
- คู่มือกรอบมาตราฐาน = เป็นตัวที่จะอธิบายและนำไปปฏิบัติใช้
- สสวท. ย่อมาจาก สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
มาตรฐานการเรียนรู้ ตัวชี้วัด และสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์
      สาระที่ 1 จำนวนและการดำเนินการ 
      สาระที่ 2  การวัด
      สาระที่ 3  เรขาคณิต
      สาระที่ 4  พีชคณิต
      สาระที่ 5   การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
      สาระที่ 6  ทักษะและกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

กิจกรรมในการสอนวันนี้
สาระที่ควรเรียนรู้
    1. เรื่องราวเกี่ยวกับตัวเด็ก
    2 .เรื่องราวเกี่ยวกับบุคคลและสถานที่แวดล้อมเด็ก
    3. ธรรมชาติรอบตัว
    4. สิ่งต่างๆ รอบตัวเด็ก
งานกลุ่ม   สร้างหน่วยการเรียนรู้กลุ่มละ 1 หน่วย(นำเสนอข้อมูลเป็น Mind mapping)
อาจารย์ให้จับกลุ่ม  5  คน  ให้แตกหน่วยกลุ่มหน่วยสาระ
- หลักเกณฑ์ในการเลือก
- เลือกมาจากไหน
กลุ่มของดิฉัน ทำ หน่อยครอบครัว


วันพฤหัสบดีที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2555

บันทึกการเข้าเรียน ครั้งที่ 6


 บันทึกการเข้าเรียน ครั้งที่ 
วัน พฤหัสบดี ที่ 6 ธันวาคม 2555 (ตอนเช้า)
วิชา การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย


          กิจกรรมในการสอนวันนี้ เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว อาจารย์ให้นำกล่องมา 1 กล่อง ในสัปดาห์นี้ เพื่อวิเคราะห์เกี่ยวกับขอบข่ายคณิตศาสตร์


หลักการรับรู้ของเด็กปฐมวัย

 1. เรียนรู้ผ่านการเล่น    - การเล่นต้องใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 กระทำกับวัตถุ

                                  - เล่นอย่างอิสระ สามารถตัดสินใจด้วยตัวเอง



 2. ครูจัดประสบการณ์ให้เด็ก    - เด็กจะทำตามแผนที่ครูกำหนดให้

                                           - ทฤษฎีเพียเจต์ กล่าวว่า เด็กต้องลงมือทำกับวัตถุ



          การเรียนรู้ คือ การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมไปตามลำดับอย่างต่อเนื่อง

          การจัดกิจกรรม ให้เหมือนกับฝาชี คือ ครอบคลุมให้เด็กได้พัฒนา


กิจกรรมที่สอดคล้องกับขอบข่ายของคณิตศาสตร์

         หน่วย กล่อง

1. ขนาดและรูปทรง

2. นับ

3. กำกับตัวเลข

4. จับคู่ = ขนาดที่เท่ากันโดยใช้เชือก ใช้นิ้ว ในการวัดหาค่า
5. เปรียบเทียบ
6. เรียงลำดับ
7. นำเสนอข้อมูล  = เปรียบเทียบจับคู่ 1:1



         Ex. นำเสนอข้อมูลโดยกราฟ

            อ้างอิง อ.เยาวพา 

8. จัดประเภท = กล่องที่กินได้  ต้องใช้เกณฑ์เดียวเท่านั้น

9. พื้นที่ = กล่องนี้บรรจุดินน้ำมันได้กี่ก้อน (ดินน้ำมันต้องขนาดเท่ากัน)

10. การทำตามแบบ = วางกล่องเป็นแบบแล้วให้เด็กทำตามแบบ

11. เศษส่วน = ทั้งหมดทีกี่กล่ิอง นับจำนวน

             Ex. มีทั้งหมด 20 กล่อง

                   กล่องประเภทของกินได้ 8 กล่อง
                   กล่องประเภทไม่ใช่ของกิน 12 กล่อง
                   เพราะฉะนั้นกล่องประเภทของกินได้มี 8 กล่องของทั้งหมด
12. การอนุรักษ์ = การเปลี่ยนแปลงแต่ยังคงที่ คือ รูปทรงเปลี่ยนแต่ปริมาณไม่เปลี่ยน



เพิ่มเติม

    - ถ้ากล่องมี 6 ด้าน ให้เด็กเห็นได้ชัดโดยติดสติกเกอร์

            - ด้านที่ 1 ติด 1 อัน

            - ด้านที่ 2 ติด 2 อัน   ( ทำไปเรื่อยๆจนถึง 6 อัน )

   - กิจกรรมที่ทำได้อย่างอิสระ คือ เล่นตามมุม,ศิลปะ
   - กล่องสี่เหลี่ยมจตุรัสสามารถนำมาทำเป็นลูกเต๋าในการเล่นเกม



ทำกิจกรรมกลุ่มโดยแบ่งเป็น 2 ประเภท

      กลุ่มที่ 1 ให้ประกอบกล่องอย่างอิสระ ไม่ให้ปรึกษากันในกลุ่ม ให้ต่อของใครของมันไปเรื่อยๆ

      กลุ่มที่ 2 ให้ช่วยกันวางแผน สามารถปรึกษากันได้ในกลุ่ม


กลุ่มของดิฉันได้ทำกิจกรรมประเภทที่ 2 คือ ช่วยกันวางแผน
หนอนน้อยเจ้าสำราญ(ลักษณะการต่อของกล่อง)

(ภาพขณะทำกิจกรรม)
งานที่อาจารย์หมอบหมาย
    อาจารย์แบ่งงานกลุ่ม  4  กลุ่ม  10  คน  ใช้กลุ่มเดิมโดยแต่ละกลุ่มอาจารย์จะสั่งของขึ้นมา 1 อย่างแล้วให้นำมาทำเป็นสื่อการสอนคณิตศาสตร์  สิ่งที่อาจารย์กำหนดให้มีดังนี้
1. กล่องแบรนด์

2. แกนทิชชู่ (กลุ่มตัวเอง)

3. ฝาขวดน้ำ




วันอาทิตย์ที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2555

บันทึกการเข้าเรียน ครั้งที่ 5


               บันทึกการเข้าเรียน ครั้งที่
วัน พฤหัสบดี ที่ 29 พฤศจิกายน 2555 (ตอนเช้า)
วิชา การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย


           ในการเรียนวันนี้อาจารย์ได้ถามถึงหนังสือว่ามีเนื้อหาอย่างไรบ้าง และได้ถามนัศึกษาว่า ถ้าพูดถึงมาตราฐานทางคณิตศาสตร์นักศึกษานึกถึงอะไร
          กิจกรรมวันนี้ อาจารย์ให้จับคู่ คู่เดิมที่นักศึกษาได้จับเมื่อการเรียนสัปดาห์ที่แล้ว ให้นั่งคู่กันเพื่อทำกิจกรรมวันนี้ ส่วนนักศึกษาที่ไม่มีคู่หรือคู่ไม่มาก็ให้ทบทวนและทำกิจกรรมเดียวในกิจกรรมอาจารย์ให้แบ่ง กลุ่มหรือคู่ละ 1 หัวข้อ ใน 12 กลุ่มแรก ได้พูดขอบข่ายคณิตศาสตร์เกี่ยวกับ    หน่วยสัตว์




1. การนับ = นับสัตว์ในสวนสัตว์
2. ตัวเลข  = เป็นตัวกำกับตัวเลขจากมาไปหาน้อย  ( ตัวเลข  -> แทนค่าจำนวน )
3. จับคู่     = ตัวเลขกับตัวเลข และรูปทรง
4. จัดประเภท = แยกประเภทของสัตว์ คือ สัตว์บก และ  สัตว์น้ำ
5. การเปรียบเทียบ =  สัตว์บก กับสัตว์น้ำ สัตว์ชนิดใดมากกว่า หรือน้อยกว่ากัน
6. การจัดลำดับ =  หาค่า, จับคู่ 1 : 1(ถ้าเด็กยังไม่มีประสบการณ์ด้านตัวเลขากพอ) ,นำมาเรียงลำดับ
7. รูปทรง และพื้นที่ = ไม่จำเป็นต้องจัด "ลำตัว" ของสัตว์ เสมอไป สามารถจัดเป็น ขนาดของกรงสัตว์ หรือ กำหนดรูปทรงแล้วถามว่า ... รูปทรงขนาดนี้สัตว์จะอยู่ในกรงได้ประมาณกี่ตัว ?
8. การวัด = วัดอาหารที่สัตรว์กินในแต่ละวัน,วัดพื้นที่ที่สัตว์อยู๋
9. เซต = การจัดตู้ปลา อุปกรณ์มีอะไรบ้าง ?
10. เศษส่วน = (สอนพื้นฐานให้กับเด็ก) การแบ่งนกในกรงในจำนวนที่เท่ากัน >> เน้นให้เด็กแบ่งครึ่ง ...
11. การทำตวามแบบ = สร้างแบบ และทำตวามแบบ
12. การอนุรักษ์ = ดินน้ำมัน (รูปร่างเปลี่ยนแปลงไป แต่ปริมาณเท่าเดิม) ,ทราย (เอาทรายใส่ขวดแล้วเอาแม่พิมพ์มาทำให้รูปร่างต่างกัน)

    และกลุ่มที่เหลืออีก 7 กลุ่ม ได้พูดขอบข่ายคณิตศาสตร์เกี่ยวกับ    หน่วยผัก




สมาชิกในกลุ่มดิฉัน
1.  นางสาว พิชชา   พรมกลิ้ง   5411201543   เลขที่ 7

2.  นางสาว อิฏอาณิก   เทพยศ   5411201618   เลขที่ 11


หมายเหตุ เนื่อจากวันนี้ นางสาว อิฏอาณิก   เทพยศ ไม่มาเรียน ดิฉันจึงได้ พูดและทำกิจกรรมคนเดียว
กลุ่มดิฉันได้ หัวข้อที่ 4 คือ การจัดประเภท


1. การนับ = นับผักในตะกร้า
2. ตัวเลข = เรียงผักที่นับออกจากตะกร้า (ลำดับที่ 1,2,3,... ตามลำดับ)
3. จับคู๋ = จำนวนผัก กับเลขฮินดูอารบิก
4. จัดประเภท = แผกผักใบเขียว
5. การเปรียบเทียบ = จากขนาด ,รูปทรง ,จำนวน
6.  การจัดลำดับ = วัดผัก โดยการเปรียบเทียบ 1 : 1
7. รูปทรงและพื้นที่ = ตะกร้าสี่เหลี่ยม  ใส่แครอทได้กี่หัว?
ในการพูดหน้าชั้นเรียนของดิฉันได้หัวข้อ การจัดประเภท โดยดิฉันฉันได้ตั้งเกณฑ์ 2 เกณฑ์ จากนั้นเมื่อดิฉันพูดจบ อาจารย์ได้ให้ข้อเสนอแนะว่า การที่จะสอนเด็กต้องใช้เกณฑ์เพียง 1 เกณฑ์ เพราะจะทำให้เด็กเข้าใจง่าย


         ท้ายคาบของการเรียน อาจารย์ ให้เขียนความรู้สึกที่ได้เรียนในวันนี้และสัปดาห์หน้าอาจารย์ให้นักศึกษานำกล่อง มาคนละใบ


วันศุกร์ที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

บันทึกการเข้าเรียน ครั้งที่ 4


บันทึกการเข้าเรียน ครั้งที่ 
วัน พฤหัสบดี ที่ 22 พฤศจิกายน 2555 (ตอนเช้า)
วิชา การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย


               การเข้าเรียนวันนี้ อาจารย์ได้ถามถึงป้ายชื่อของนักศึกษา แต่นักศึกษาส่วนใหญ่ไม่ได้เตรียมมา อาจารย์จึงได้แจกกระดาษ 1 แผ่น ต่อ 4 คน จากนั้นแบ่งขึ้น 4 คน ให้ได้ขนาดที่เท่าๆกันและจากนั้นให้นักศึกษา เขียนชื่อของตนเองและสัญลักษณ์ที่เป็นของตนเองลงในกระดาษที่ได้ โดยเขียนให้ชื่อกับสัญลักษณ์ สมดุลกัน

              อะไรที่ทำให้เราสามารถสื่อสารกันได้สิ่่งนั้นคือภาษาในการสื่อสาร   ตัวเลขเป็นสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ ตามหัวข้อดังนี้


ขอบข่ายของหลักสูตรคณิตศาสตร์ในระดับปฐมวัย
   นิตยา   ประพฤติกิจ.2541:17-19


1.  การนับ  (Counting)

2.  ตัวเลข  (Number)

3.  การจับคู่  (Matching)

4.  การจัดประเภท  (Classification)

5.  การเปรียบเทียบ  (Comparing)

6.  การจัดลำดับ  (Shape and space)

7.  รูปทรงและเนื้อที่  (Shape)

8.  การวัด  (Measurement)

9.  เซต  (Set)

10.  เศษส่วน  (Fraction)

11.  การทำตามแบบหรือลวดลาย  (Patterning)

12.  การอนุรักษณ์หรือการคงที่ด้านปริมาณ  (Conservation)



สมาชิกในกลุ่มของดิฉัน
1.  นางสาว พิชชา   พรมกลิ้ง   5411201543   เลขที่ 7
2.  นางสาว อิฏอาณิก   เทพยศ   5411201618   เลขที่ 11

งานที่กลุ่มดิฉันทำ/คำตอบ ที่ได้ทำ
จัดทำแผนข่อบข่ายคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

1.  การนับ นับทีละคู่  1 คู่ มี 2 ข้าง  เช่น 2,4,6,8,10

2.  ตัวเลข รองเท้ามีทั้งหมด 5 คู่

3.  การจับคู่ แยกระหว่ารองเท้าส้นสูงกับรองเท้าส้นเตี้ย คือ ส้นเตี้ยคู่กับส้นเตี้ย  ส้นสูงคู่กับส้นสูง รวมถึงการจับคู่ของสีรองเท้าและรูปแบบ

4.  การจัดประเภท แยกส้นเตี้ยกับส้นสูงของรองเท้าแต่ละประเภท


5.  การเปรียบเทียบ เปรียบเทียบรองเท้าที่มีขนาดเล็กและใหญ่ต่างกันหรือมีขนาดที่ต่างกันออกไป


6.  การจัดลำดับ จัดลำดับจากการซื้อรองเท้าที่ซื้อมาก่อนและซื้อมาหลังใหม่หรือเก่า


7.  รูปทรงและเนื้อที่ รองเท้าแต่ละคู่มีขนาดและรูปทรงที่ต่างกันไป เช่น หัวแหลม  หัวมน  และ ส้นสูงแบบส้นแหลมและส้นทึบ


8.  การวัด วัดขนาดรองเท้าว่ามีความสูงกี่นิ้วและรองเท้าส้นต่ำต่ำกว่าส้นสูงกี่นิ้ว


9.  เซต  การจัดเซตรองเท้า จัดรองเท้าที่มีสีเดียวกันและมีราคาที่ซื้อมาเท่ากัน ซื้อมาจากที่เดียวกัน  สีเดียวกัน สูงต่ำ


10.  เศษส่วน การแบ่งรองเท้าให้ได้เท่ากัน เช่น 5:5


11.  การจัดทำตามแบบหรือลวดลาย เพื่อที่จะได้รู้ว่าเป็นรองเท้าประเภทใดควรใส่ในโอกาสใด  เช่น รองเท้าผ้าใบ ใส่วิ่งใส่ออกกำลังกาย


12.  การอนุรักษณ์หรือการคงที่ด้านปริมาณ คุณภาพที่สมราคา  เช่น  ซื้อรองเท้ามา 2 คู่  คู่แรก 500  คู่ที่สอง 1000 คู่แรกก็จะมีคุณภาพต่ำกว่าคู่ที่สองใช้งานได้น้อยกว่า



            จากนั้นอาจารย์ให้นักศึกษาคาดเดาว่า อาจารย์จะจัดกิจกรรมอะไร กิจกรรมที่อาจารย์จัด คือ การให้นักศึกษาเข้าใจ ศึกคณิตศาสตร์โดยให้ความคิดเหตุผล
อาจารย์ได้ถามนักศึกษาถึงเกณฑ์ในการจัดกลุ่ม ว่านักศึกษามีเกณฑ์ในการจับกลุ่มอย่างไรบ้าง 
จากนั้นอาจารย์ได้ให้นักศึกษาจับคู่ เพื่อช่วยกันทำงานที่อาจาย์มอบหมายให้ นั้นคือ อธิบายถึงการใช้เวลาในการแบ่งเกณฑ์



วันอาทิตย์ที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

บันทึกการเข้าเรียน ครั้งที่ 3



บันทึกการเข้าเรียน ครั้งที่ 
วัน พฤหัสบดี ที่ 15 พฤศจิกายน 2555 (ตอนเช้า)
วิชา การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

-ในการเข้าเรียนวันนี้มีการแปลงเปลี่ยงห้องเรียนชั่วคราว จากเดิมเรียนที่ห้อง 432 ย้ายมาเรียนที่ห้อง 235
-ในการเรียนวันนี้อาจารย์ได้ถามนักศึกษาเกี่ยวกับงานที่ได้มอบหมายให้ไห้องสมุดเพื่อหาหนังสือเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ในสัปดาห์ที่แล้ว จากนั้นอาจารย์ได้สุ่มถามความหมายของคณิตศาสตร์ตามที่นักศึกษาได้ไปค้นคว้ามา โดยสุ่มจากใบรายชื่อของนักศึกษา
-จับกลุ่มๆละ 3 คน ช่วยกันระดมความคิดและช่วยกันสรุปจากหนังสือที่แต่ละคนได้ไปค้นคว้ามาภายในกลุ่ม ดังหัวข้อต่อไปนี้

       1. ความหมายของคณิตศาสตร์ 

       2. จุดมุ่งหมาย หรือ เป้าหมายการสอนคณิตศาสตร์      

       3. ทฤษฎี หรือ หลักการสอนคณิตศาสตร์       
       4. ขอบข่าย หรือ เนื้อหาหลักสูตรของคณิตศาสตร์
* อาจารย์แจก กระดาษให้นักศึกษา กลุ่มละ 1 แผ่น



สมาชิกในกลุ่ม
นางสาวชุติภา สมบุญคุณ 5411201329 เลขที่ 2
นางสาวพิชชา พรมกลิ้ง 5411201543 เลขที่ 7
นางสาวอิฏอาณิก เทพยศ 5411201618 เลขที่11




ความหมายของคณิตศาสตร์

     คณิคศาสตร์เป็นศาสตร์แห่งการคิดคำนวณที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของคนและต้องใช้เสมอ การคิดคำนวณและแก้โจทย์ปัญหานั้นอย่ามุ่งเอาจริงกับคำตอบสามารถให้เหตุผลในการกระทำของตนเองได้แต่ควรเน้นทักษะกระบวนการคิดในเด็กแต่ละคนว่าเด็กสามารถประเมินขนาดได้เด็กเริ่มสนใจสิ่งใหญ่และสามารถสื่อสารกับเพื่อนกับผู้ใหญ่ได้โดยพัฒนาการทางสติปัญญาจะเพิ่มขึ้นเป็นลำดับหากได้การกระตุ้นที่เหมาะสม คณิตศาสตร์เป็นทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ที่นำไปสู่การคิดคำนวณบวกลบ

จุดมุ่งหมาย

1. รู้ถึงคุณค่าของคณิตศาสตร์

2. พัฒนาเจตคติที่ดีต่อการเรียนรู้คณิตศาสตร์

3. มีความรู้ความเข้าใจในคณิตศาสตร์พื้นฐาน
4. เป็นการกระตุ้นให้เด็กสนใจโลกรอบตัว
5. สร้างความคุ้นเคยกับตัวเลข การนับ การเพิ่ม และการลด
6. กระตุ้นให้เกิดอิสระและมีการคิดจินตนาการ
7. ทำให้เด็กรู้จักสังเกต ค้นหา ทดลอง
8. สร้างเสริมความคิดเชิงตรรกะหรือเหตุผลจากการมีความสามารถในการใช้เหตุผลในการเปรียบเทียบการจัดประเภท รู้เวลา ตำแหน่ง รู้รูปทรง และขนาด
ทฤษฏีการสอน
        การสอนคณิตศาสตร์ต้องเริ่มจากชีวิตจริงและสิ่งใกล้ตัว ครูสอนฝึกให้นักเรียนคุ้นเคยกับคำต่างๆ และความหมายของทุกคำในโจทย์แต่สิ่งที่ต้องตระหนักไว้เสมอว่าต้องให้ผู้เรียนเข้าใจในมโนทัศน์ ตรรกะพื้นฐานคณิตศาสตร์ ตามที่ผู้เรียนเข้าใจโดยเปิดโอกาสให้ผู้เรียนเข้าใจได้อ่านโจทย์หลายๆครั้งและวิเคราะห์โจทย์ปัญหาทั้งหมดแต่พัฒนาทักษะคณิตศาสตร์ของเด็กจะเพิ่มขึ้นตามพัฒนาการของเด็กคณิตศาสตร์เป็นเรื่องซับซ้อนมากกว่าภาษาดังนั้นในการสอนตัวเลขสำหรับเด็กจึงมีบริบทการสอนเพื่อหาคำตอบของปัญหาได้ด้วยวิธีการบวก ลบ คูณ หาร หรือยกกำลัง ซึ่งผู้สอนจะฝึกให้นักเรียนเป็นผู้ที่คิดวิธีทำได้ด้วยตนเอง
ขอบข่ายของคณิตศาสตร์
เป็นการให้เด็กรู้จักตัวเลขที่เห็นหรือใช้อยู่ในชีวิตประจำวันให้เด็กโดยการเรียนรู้เกี่ยวกับสัญลักษณ์ตัวเลข จำนวน การอ่านคำ การนับ การบวก การเปรียบเทียบ และการบอกเหตุผล โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ต้องสอดคล้องกับวัยและพัฒนาการของเด็ก เด็กได้ลงมือปฏิบัติและได้คิดบรรยากาศการเรียนไม่เคร่งเครียดกิจกรรมได้รับการวางแผนอย่างดีสร้างความคุ้นเคยกับตัวเลขให้เด็กได้นับและคิดเอง

                        อ้างอิงจากหนังสือ

เทคนิคการสอนคณิตศาสตร์ระดับประถมศึกษา, สุวร กาญจนมยูร,2538:2, เลขหมู่หนังสือ 510.7
การจัดกิจกรรมการเรียนรู้สำหรับเดฝ้กปฐมวัย,ดร.กุลยา ตันติผลาชีวะ,25533:154-164,เลขหมู่หนังสือ 372.21 ก728ก ฉ.4

  อาจารย์ประเมินในงานที่สั่งทำทั้งงานเดี่ยวและงานกลุ่ม แนะนำและปรับปรุงในงานชิ้นต่อๆไป

  • จากการเรียนวันนี้ได้ทักษะ
  • การสรุปความ
  • การค้นหา

กิจกรรมเพลง

  • เรียกเด็กเข้ากลุ่ม

ที่อาจารย์ร้องเพลงให้ฟังก่อน เพื่อ .... ให้จำเนื้อร้องได้ และรู้จักความหมาย


** อาจารย์แนะนำว่า ทุกครั้งเมื่อมีการไปค้นคว้าจากหนังสือ ให้ใส่อ้างอิงมาด้วยทุกครั้ง

บันทึกการเข้าเรียน ครั้งที่ 2


บันทึกการเข้าเรียน ครั้งที่ 
วัน พฤหัสบดี ที่ 8 พฤศจิกายน 2555 (ตอนเช้า)
วิชา การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

อ.แจกกระดาษ
   เรียนเกี่ยวกับการแบ่งกลุ่ม
       แบ่งเป็น 2 กลุ่ม โดยใช้หลักเกณฑ์
       1. นับเลข 1 กับ 2
       2. จับฉลาก
       3. แบ่งตาม ผลสั้น-ผมยาว โดยมีหลักดังนี้ ผมสั้นต้องห้ามเลยบ่า ผมยาวต้องเลยบ่าลงไป
           ***การแบ่งกลุ่มจะต้องใช้หลักเกณฑ์และแบ่งให้เท่าๆกัน

     อาจารย์ได้ให้นักศึกษาลองมองรอบๆตัวว่าอะไรเป็น คณิตศาสตร์บ้าง โดยให้นักศึกษาได้มีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น เช่น ประตู หน้าต่าง น้ำหนัก ส่วนสูง ฯลฯ สิ่งต่างๆเหล่านี้ที่นักศึกษาร่วมกันแสดงความคิดเห็นนั้นจัดอยูในรูปของสิ่งต่อไปนี้ คือ
       รูปร่าง รูปทรง การวัด จำนวน การเปรียบเทียบ

    จากนั้นอาจารย์ได้เอ่ยถึงเรื่องสมอง ว่าสมองทำงานอย่างไร มีสมองส่วนได้บ้าง
งานที่อาจารย์ได้มอบหมายในสัปดาห์นี้ คือ ให้นักศึกษาไปห้องสมุดแล้วหาข้อมูลเกี่ยวกับหัวข้อดังนี้
สำรวจรายชื่อหนังสือคณิตศาสตร์  บอก ชื่อหนังสือ ผู้เขียน ปีที่พิมพ์ เลขหมู่หนังสือ และเลือกมา 1 เล่ม
2 ดูหนังสือเลือกมา 1 คน  หาความหมายของคณิตศาสตร์บอกว่าใครให้ความหมาย  เขียนอ้างอิงหนังสือเล่มนั้น     ชื่อ________หน้า______ชื่อหนังสือ_____พ.ศ._____
3. จุดมุ่งหมายของการสอนคณิตศาสตร์
4. ทฤษฎีการสอนคณิตศาสตร์ หรือ วิธิการสอนคณิตศาสตร์
5. ขอบข่าย หรือ เนื้อหาของคณิตศาสตร์


วันอาทิตย์ที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

บันทึกการเข้าเรียน ครั้งที่ 1

บันทึกการเข้าเรียน ครั้งที่ 
วัน พฤหัสบดี ที่ 1 ตุลาคม 2555 (ตอนเช้า)
วิชา การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

         อาจารย์ได้แนะนำวิชา การเรียนเกี่ยวกับคณิตศาสตร์สำหรับเด็ก ว่าเรียนอย่างไร ได้อะไรบ้าง
อาจารย์ได้ให้นักศึกษาคิดประโยชน์ เพียง 2 ประโยชน์ โดยมีหัวข้อที่ว่า ให้คิดและเขียนประโยชน์ 2 ประโยชน์ เกี่ยวกับคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยในความคิดของเรา และอีกหัวข้อ หนึ่งคือ นักศึกษาคิดว่าจะได้อะไรในการเรียน วิชา การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยโดยใช้ความคิดของเราเอง
        อาจารย์ได้ถามคำสำคัญในประโยค การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยว่ามีคำอะไรบ้างและมีกี่คำตอบคือ
มี 3 คำ ได้แก่ การจัดประสบการณ์างคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย


       พัฒนาการ คือ การเจริญเติบโตหรือการเปลี่ยนแปลงให้เป็นไปตามลำดับขั้นตอนอย่างต่อเนื่อง เช่น การพลิกตัว คว่ำ คืบ คลาน นั่ง ยืน เดิน วิ่ง
       การเรียนรู้ คือ การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม

  การเรียนรู้เกิดขึ้นได้นั้น
  1. เกิดจากการที่เรามีประสบการณ์
  2. ลงมือกระทำโดยใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5
 เรียนรู้ไปเพื่ออะไร
  1. พัฒนาตนเองไปในทางที่ดี
  2. เพื่อให้ตัวเองใช้ชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข