วันพฤหัสบดีที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2555

บันทึกการเข้าเรียน ครั้งที่7



บันทึกการเข้าเรียน ครั้งที่
วัน พฤหัสบดี ที่ 13 ธันวาคม 2555 (ตอนเช้า)
วิชา การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย


      ในการเรียนการสอนวันนี้ อาจารย์ได้ถาม นักศึกษาถึงความหมายของคู่มือ และ ทำไมถึงต้องอ่านคู่มือก่อนใช้ ?

คำตอบของนักศึกษาส่วนใหญ่ คือ  คู่มือ หมายถึง บอกมาตรฐาน,บอกวิธีการ,ความสำคัญ,การปฏิบัติ

- มาตราฐาน คือ สิ่งที่น่าเชื่อถือ , บอกสิ่งนี้มีคุณภาพ , ยอมรับได้และเป็นแนวทางในการนำไปใช้
- คู่มือกรอบมาตราฐาน = เป็นตัวที่จะอธิบายและนำไปปฏิบัติใช้
- สสวท. ย่อมาจาก สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
มาตรฐานการเรียนรู้ ตัวชี้วัด และสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์
      สาระที่ 1 จำนวนและการดำเนินการ 
      สาระที่ 2  การวัด
      สาระที่ 3  เรขาคณิต
      สาระที่ 4  พีชคณิต
      สาระที่ 5   การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
      สาระที่ 6  ทักษะและกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

กิจกรรมในการสอนวันนี้
สาระที่ควรเรียนรู้
    1. เรื่องราวเกี่ยวกับตัวเด็ก
    2 .เรื่องราวเกี่ยวกับบุคคลและสถานที่แวดล้อมเด็ก
    3. ธรรมชาติรอบตัว
    4. สิ่งต่างๆ รอบตัวเด็ก
งานกลุ่ม   สร้างหน่วยการเรียนรู้กลุ่มละ 1 หน่วย(นำเสนอข้อมูลเป็น Mind mapping)
อาจารย์ให้จับกลุ่ม  5  คน  ให้แตกหน่วยกลุ่มหน่วยสาระ
- หลักเกณฑ์ในการเลือก
- เลือกมาจากไหน
กลุ่มของดิฉัน ทำ หน่อยครอบครัว


วันพฤหัสบดีที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2555

บันทึกการเข้าเรียน ครั้งที่ 6


 บันทึกการเข้าเรียน ครั้งที่ 
วัน พฤหัสบดี ที่ 6 ธันวาคม 2555 (ตอนเช้า)
วิชา การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย


          กิจกรรมในการสอนวันนี้ เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว อาจารย์ให้นำกล่องมา 1 กล่อง ในสัปดาห์นี้ เพื่อวิเคราะห์เกี่ยวกับขอบข่ายคณิตศาสตร์


หลักการรับรู้ของเด็กปฐมวัย

 1. เรียนรู้ผ่านการเล่น    - การเล่นต้องใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 กระทำกับวัตถุ

                                  - เล่นอย่างอิสระ สามารถตัดสินใจด้วยตัวเอง



 2. ครูจัดประสบการณ์ให้เด็ก    - เด็กจะทำตามแผนที่ครูกำหนดให้

                                           - ทฤษฎีเพียเจต์ กล่าวว่า เด็กต้องลงมือทำกับวัตถุ



          การเรียนรู้ คือ การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมไปตามลำดับอย่างต่อเนื่อง

          การจัดกิจกรรม ให้เหมือนกับฝาชี คือ ครอบคลุมให้เด็กได้พัฒนา


กิจกรรมที่สอดคล้องกับขอบข่ายของคณิตศาสตร์

         หน่วย กล่อง

1. ขนาดและรูปทรง

2. นับ

3. กำกับตัวเลข

4. จับคู่ = ขนาดที่เท่ากันโดยใช้เชือก ใช้นิ้ว ในการวัดหาค่า
5. เปรียบเทียบ
6. เรียงลำดับ
7. นำเสนอข้อมูล  = เปรียบเทียบจับคู่ 1:1



         Ex. นำเสนอข้อมูลโดยกราฟ

            อ้างอิง อ.เยาวพา 

8. จัดประเภท = กล่องที่กินได้  ต้องใช้เกณฑ์เดียวเท่านั้น

9. พื้นที่ = กล่องนี้บรรจุดินน้ำมันได้กี่ก้อน (ดินน้ำมันต้องขนาดเท่ากัน)

10. การทำตามแบบ = วางกล่องเป็นแบบแล้วให้เด็กทำตามแบบ

11. เศษส่วน = ทั้งหมดทีกี่กล่ิอง นับจำนวน

             Ex. มีทั้งหมด 20 กล่อง

                   กล่องประเภทของกินได้ 8 กล่อง
                   กล่องประเภทไม่ใช่ของกิน 12 กล่อง
                   เพราะฉะนั้นกล่องประเภทของกินได้มี 8 กล่องของทั้งหมด
12. การอนุรักษ์ = การเปลี่ยนแปลงแต่ยังคงที่ คือ รูปทรงเปลี่ยนแต่ปริมาณไม่เปลี่ยน



เพิ่มเติม

    - ถ้ากล่องมี 6 ด้าน ให้เด็กเห็นได้ชัดโดยติดสติกเกอร์

            - ด้านที่ 1 ติด 1 อัน

            - ด้านที่ 2 ติด 2 อัน   ( ทำไปเรื่อยๆจนถึง 6 อัน )

   - กิจกรรมที่ทำได้อย่างอิสระ คือ เล่นตามมุม,ศิลปะ
   - กล่องสี่เหลี่ยมจตุรัสสามารถนำมาทำเป็นลูกเต๋าในการเล่นเกม



ทำกิจกรรมกลุ่มโดยแบ่งเป็น 2 ประเภท

      กลุ่มที่ 1 ให้ประกอบกล่องอย่างอิสระ ไม่ให้ปรึกษากันในกลุ่ม ให้ต่อของใครของมันไปเรื่อยๆ

      กลุ่มที่ 2 ให้ช่วยกันวางแผน สามารถปรึกษากันได้ในกลุ่ม


กลุ่มของดิฉันได้ทำกิจกรรมประเภทที่ 2 คือ ช่วยกันวางแผน
หนอนน้อยเจ้าสำราญ(ลักษณะการต่อของกล่อง)

(ภาพขณะทำกิจกรรม)
งานที่อาจารย์หมอบหมาย
    อาจารย์แบ่งงานกลุ่ม  4  กลุ่ม  10  คน  ใช้กลุ่มเดิมโดยแต่ละกลุ่มอาจารย์จะสั่งของขึ้นมา 1 อย่างแล้วให้นำมาทำเป็นสื่อการสอนคณิตศาสตร์  สิ่งที่อาจารย์กำหนดให้มีดังนี้
1. กล่องแบรนด์

2. แกนทิชชู่ (กลุ่มตัวเอง)

3. ฝาขวดน้ำ




วันอาทิตย์ที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2555

บันทึกการเข้าเรียน ครั้งที่ 5


               บันทึกการเข้าเรียน ครั้งที่
วัน พฤหัสบดี ที่ 29 พฤศจิกายน 2555 (ตอนเช้า)
วิชา การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย


           ในการเรียนวันนี้อาจารย์ได้ถามถึงหนังสือว่ามีเนื้อหาอย่างไรบ้าง และได้ถามนัศึกษาว่า ถ้าพูดถึงมาตราฐานทางคณิตศาสตร์นักศึกษานึกถึงอะไร
          กิจกรรมวันนี้ อาจารย์ให้จับคู่ คู่เดิมที่นักศึกษาได้จับเมื่อการเรียนสัปดาห์ที่แล้ว ให้นั่งคู่กันเพื่อทำกิจกรรมวันนี้ ส่วนนักศึกษาที่ไม่มีคู่หรือคู่ไม่มาก็ให้ทบทวนและทำกิจกรรมเดียวในกิจกรรมอาจารย์ให้แบ่ง กลุ่มหรือคู่ละ 1 หัวข้อ ใน 12 กลุ่มแรก ได้พูดขอบข่ายคณิตศาสตร์เกี่ยวกับ    หน่วยสัตว์




1. การนับ = นับสัตว์ในสวนสัตว์
2. ตัวเลข  = เป็นตัวกำกับตัวเลขจากมาไปหาน้อย  ( ตัวเลข  -> แทนค่าจำนวน )
3. จับคู่     = ตัวเลขกับตัวเลข และรูปทรง
4. จัดประเภท = แยกประเภทของสัตว์ คือ สัตว์บก และ  สัตว์น้ำ
5. การเปรียบเทียบ =  สัตว์บก กับสัตว์น้ำ สัตว์ชนิดใดมากกว่า หรือน้อยกว่ากัน
6. การจัดลำดับ =  หาค่า, จับคู่ 1 : 1(ถ้าเด็กยังไม่มีประสบการณ์ด้านตัวเลขากพอ) ,นำมาเรียงลำดับ
7. รูปทรง และพื้นที่ = ไม่จำเป็นต้องจัด "ลำตัว" ของสัตว์ เสมอไป สามารถจัดเป็น ขนาดของกรงสัตว์ หรือ กำหนดรูปทรงแล้วถามว่า ... รูปทรงขนาดนี้สัตว์จะอยู่ในกรงได้ประมาณกี่ตัว ?
8. การวัด = วัดอาหารที่สัตรว์กินในแต่ละวัน,วัดพื้นที่ที่สัตว์อยู๋
9. เซต = การจัดตู้ปลา อุปกรณ์มีอะไรบ้าง ?
10. เศษส่วน = (สอนพื้นฐานให้กับเด็ก) การแบ่งนกในกรงในจำนวนที่เท่ากัน >> เน้นให้เด็กแบ่งครึ่ง ...
11. การทำตวามแบบ = สร้างแบบ และทำตวามแบบ
12. การอนุรักษ์ = ดินน้ำมัน (รูปร่างเปลี่ยนแปลงไป แต่ปริมาณเท่าเดิม) ,ทราย (เอาทรายใส่ขวดแล้วเอาแม่พิมพ์มาทำให้รูปร่างต่างกัน)

    และกลุ่มที่เหลืออีก 7 กลุ่ม ได้พูดขอบข่ายคณิตศาสตร์เกี่ยวกับ    หน่วยผัก




สมาชิกในกลุ่มดิฉัน
1.  นางสาว พิชชา   พรมกลิ้ง   5411201543   เลขที่ 7

2.  นางสาว อิฏอาณิก   เทพยศ   5411201618   เลขที่ 11


หมายเหตุ เนื่อจากวันนี้ นางสาว อิฏอาณิก   เทพยศ ไม่มาเรียน ดิฉันจึงได้ พูดและทำกิจกรรมคนเดียว
กลุ่มดิฉันได้ หัวข้อที่ 4 คือ การจัดประเภท


1. การนับ = นับผักในตะกร้า
2. ตัวเลข = เรียงผักที่นับออกจากตะกร้า (ลำดับที่ 1,2,3,... ตามลำดับ)
3. จับคู๋ = จำนวนผัก กับเลขฮินดูอารบิก
4. จัดประเภท = แผกผักใบเขียว
5. การเปรียบเทียบ = จากขนาด ,รูปทรง ,จำนวน
6.  การจัดลำดับ = วัดผัก โดยการเปรียบเทียบ 1 : 1
7. รูปทรงและพื้นที่ = ตะกร้าสี่เหลี่ยม  ใส่แครอทได้กี่หัว?
ในการพูดหน้าชั้นเรียนของดิฉันได้หัวข้อ การจัดประเภท โดยดิฉันฉันได้ตั้งเกณฑ์ 2 เกณฑ์ จากนั้นเมื่อดิฉันพูดจบ อาจารย์ได้ให้ข้อเสนอแนะว่า การที่จะสอนเด็กต้องใช้เกณฑ์เพียง 1 เกณฑ์ เพราะจะทำให้เด็กเข้าใจง่าย


         ท้ายคาบของการเรียน อาจารย์ ให้เขียนความรู้สึกที่ได้เรียนในวันนี้และสัปดาห์หน้าอาจารย์ให้นักศึกษานำกล่อง มาคนละใบ