วันศุกร์ที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

บันทึกการเข้าเรียน ครั้งที่ 4


บันทึกการเข้าเรียน ครั้งที่ 
วัน พฤหัสบดี ที่ 22 พฤศจิกายน 2555 (ตอนเช้า)
วิชา การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย


               การเข้าเรียนวันนี้ อาจารย์ได้ถามถึงป้ายชื่อของนักศึกษา แต่นักศึกษาส่วนใหญ่ไม่ได้เตรียมมา อาจารย์จึงได้แจกกระดาษ 1 แผ่น ต่อ 4 คน จากนั้นแบ่งขึ้น 4 คน ให้ได้ขนาดที่เท่าๆกันและจากนั้นให้นักศึกษา เขียนชื่อของตนเองและสัญลักษณ์ที่เป็นของตนเองลงในกระดาษที่ได้ โดยเขียนให้ชื่อกับสัญลักษณ์ สมดุลกัน

              อะไรที่ทำให้เราสามารถสื่อสารกันได้สิ่่งนั้นคือภาษาในการสื่อสาร   ตัวเลขเป็นสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ ตามหัวข้อดังนี้


ขอบข่ายของหลักสูตรคณิตศาสตร์ในระดับปฐมวัย
   นิตยา   ประพฤติกิจ.2541:17-19


1.  การนับ  (Counting)

2.  ตัวเลข  (Number)

3.  การจับคู่  (Matching)

4.  การจัดประเภท  (Classification)

5.  การเปรียบเทียบ  (Comparing)

6.  การจัดลำดับ  (Shape and space)

7.  รูปทรงและเนื้อที่  (Shape)

8.  การวัด  (Measurement)

9.  เซต  (Set)

10.  เศษส่วน  (Fraction)

11.  การทำตามแบบหรือลวดลาย  (Patterning)

12.  การอนุรักษณ์หรือการคงที่ด้านปริมาณ  (Conservation)



สมาชิกในกลุ่มของดิฉัน
1.  นางสาว พิชชา   พรมกลิ้ง   5411201543   เลขที่ 7
2.  นางสาว อิฏอาณิก   เทพยศ   5411201618   เลขที่ 11

งานที่กลุ่มดิฉันทำ/คำตอบ ที่ได้ทำ
จัดทำแผนข่อบข่ายคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

1.  การนับ นับทีละคู่  1 คู่ มี 2 ข้าง  เช่น 2,4,6,8,10

2.  ตัวเลข รองเท้ามีทั้งหมด 5 คู่

3.  การจับคู่ แยกระหว่ารองเท้าส้นสูงกับรองเท้าส้นเตี้ย คือ ส้นเตี้ยคู่กับส้นเตี้ย  ส้นสูงคู่กับส้นสูง รวมถึงการจับคู่ของสีรองเท้าและรูปแบบ

4.  การจัดประเภท แยกส้นเตี้ยกับส้นสูงของรองเท้าแต่ละประเภท


5.  การเปรียบเทียบ เปรียบเทียบรองเท้าที่มีขนาดเล็กและใหญ่ต่างกันหรือมีขนาดที่ต่างกันออกไป


6.  การจัดลำดับ จัดลำดับจากการซื้อรองเท้าที่ซื้อมาก่อนและซื้อมาหลังใหม่หรือเก่า


7.  รูปทรงและเนื้อที่ รองเท้าแต่ละคู่มีขนาดและรูปทรงที่ต่างกันไป เช่น หัวแหลม  หัวมน  และ ส้นสูงแบบส้นแหลมและส้นทึบ


8.  การวัด วัดขนาดรองเท้าว่ามีความสูงกี่นิ้วและรองเท้าส้นต่ำต่ำกว่าส้นสูงกี่นิ้ว


9.  เซต  การจัดเซตรองเท้า จัดรองเท้าที่มีสีเดียวกันและมีราคาที่ซื้อมาเท่ากัน ซื้อมาจากที่เดียวกัน  สีเดียวกัน สูงต่ำ


10.  เศษส่วน การแบ่งรองเท้าให้ได้เท่ากัน เช่น 5:5


11.  การจัดทำตามแบบหรือลวดลาย เพื่อที่จะได้รู้ว่าเป็นรองเท้าประเภทใดควรใส่ในโอกาสใด  เช่น รองเท้าผ้าใบ ใส่วิ่งใส่ออกกำลังกาย


12.  การอนุรักษณ์หรือการคงที่ด้านปริมาณ คุณภาพที่สมราคา  เช่น  ซื้อรองเท้ามา 2 คู่  คู่แรก 500  คู่ที่สอง 1000 คู่แรกก็จะมีคุณภาพต่ำกว่าคู่ที่สองใช้งานได้น้อยกว่า



            จากนั้นอาจารย์ให้นักศึกษาคาดเดาว่า อาจารย์จะจัดกิจกรรมอะไร กิจกรรมที่อาจารย์จัด คือ การให้นักศึกษาเข้าใจ ศึกคณิตศาสตร์โดยให้ความคิดเหตุผล
อาจารย์ได้ถามนักศึกษาถึงเกณฑ์ในการจัดกลุ่ม ว่านักศึกษามีเกณฑ์ในการจับกลุ่มอย่างไรบ้าง 
จากนั้นอาจารย์ได้ให้นักศึกษาจับคู่ เพื่อช่วยกันทำงานที่อาจาย์มอบหมายให้ นั้นคือ อธิบายถึงการใช้เวลาในการแบ่งเกณฑ์



วันอาทิตย์ที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

บันทึกการเข้าเรียน ครั้งที่ 3



บันทึกการเข้าเรียน ครั้งที่ 
วัน พฤหัสบดี ที่ 15 พฤศจิกายน 2555 (ตอนเช้า)
วิชา การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

-ในการเข้าเรียนวันนี้มีการแปลงเปลี่ยงห้องเรียนชั่วคราว จากเดิมเรียนที่ห้อง 432 ย้ายมาเรียนที่ห้อง 235
-ในการเรียนวันนี้อาจารย์ได้ถามนักศึกษาเกี่ยวกับงานที่ได้มอบหมายให้ไห้องสมุดเพื่อหาหนังสือเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ในสัปดาห์ที่แล้ว จากนั้นอาจารย์ได้สุ่มถามความหมายของคณิตศาสตร์ตามที่นักศึกษาได้ไปค้นคว้ามา โดยสุ่มจากใบรายชื่อของนักศึกษา
-จับกลุ่มๆละ 3 คน ช่วยกันระดมความคิดและช่วยกันสรุปจากหนังสือที่แต่ละคนได้ไปค้นคว้ามาภายในกลุ่ม ดังหัวข้อต่อไปนี้

       1. ความหมายของคณิตศาสตร์ 

       2. จุดมุ่งหมาย หรือ เป้าหมายการสอนคณิตศาสตร์      

       3. ทฤษฎี หรือ หลักการสอนคณิตศาสตร์       
       4. ขอบข่าย หรือ เนื้อหาหลักสูตรของคณิตศาสตร์
* อาจารย์แจก กระดาษให้นักศึกษา กลุ่มละ 1 แผ่น



สมาชิกในกลุ่ม
นางสาวชุติภา สมบุญคุณ 5411201329 เลขที่ 2
นางสาวพิชชา พรมกลิ้ง 5411201543 เลขที่ 7
นางสาวอิฏอาณิก เทพยศ 5411201618 เลขที่11




ความหมายของคณิตศาสตร์

     คณิคศาสตร์เป็นศาสตร์แห่งการคิดคำนวณที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของคนและต้องใช้เสมอ การคิดคำนวณและแก้โจทย์ปัญหานั้นอย่ามุ่งเอาจริงกับคำตอบสามารถให้เหตุผลในการกระทำของตนเองได้แต่ควรเน้นทักษะกระบวนการคิดในเด็กแต่ละคนว่าเด็กสามารถประเมินขนาดได้เด็กเริ่มสนใจสิ่งใหญ่และสามารถสื่อสารกับเพื่อนกับผู้ใหญ่ได้โดยพัฒนาการทางสติปัญญาจะเพิ่มขึ้นเป็นลำดับหากได้การกระตุ้นที่เหมาะสม คณิตศาสตร์เป็นทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ที่นำไปสู่การคิดคำนวณบวกลบ

จุดมุ่งหมาย

1. รู้ถึงคุณค่าของคณิตศาสตร์

2. พัฒนาเจตคติที่ดีต่อการเรียนรู้คณิตศาสตร์

3. มีความรู้ความเข้าใจในคณิตศาสตร์พื้นฐาน
4. เป็นการกระตุ้นให้เด็กสนใจโลกรอบตัว
5. สร้างความคุ้นเคยกับตัวเลข การนับ การเพิ่ม และการลด
6. กระตุ้นให้เกิดอิสระและมีการคิดจินตนาการ
7. ทำให้เด็กรู้จักสังเกต ค้นหา ทดลอง
8. สร้างเสริมความคิดเชิงตรรกะหรือเหตุผลจากการมีความสามารถในการใช้เหตุผลในการเปรียบเทียบการจัดประเภท รู้เวลา ตำแหน่ง รู้รูปทรง และขนาด
ทฤษฏีการสอน
        การสอนคณิตศาสตร์ต้องเริ่มจากชีวิตจริงและสิ่งใกล้ตัว ครูสอนฝึกให้นักเรียนคุ้นเคยกับคำต่างๆ และความหมายของทุกคำในโจทย์แต่สิ่งที่ต้องตระหนักไว้เสมอว่าต้องให้ผู้เรียนเข้าใจในมโนทัศน์ ตรรกะพื้นฐานคณิตศาสตร์ ตามที่ผู้เรียนเข้าใจโดยเปิดโอกาสให้ผู้เรียนเข้าใจได้อ่านโจทย์หลายๆครั้งและวิเคราะห์โจทย์ปัญหาทั้งหมดแต่พัฒนาทักษะคณิตศาสตร์ของเด็กจะเพิ่มขึ้นตามพัฒนาการของเด็กคณิตศาสตร์เป็นเรื่องซับซ้อนมากกว่าภาษาดังนั้นในการสอนตัวเลขสำหรับเด็กจึงมีบริบทการสอนเพื่อหาคำตอบของปัญหาได้ด้วยวิธีการบวก ลบ คูณ หาร หรือยกกำลัง ซึ่งผู้สอนจะฝึกให้นักเรียนเป็นผู้ที่คิดวิธีทำได้ด้วยตนเอง
ขอบข่ายของคณิตศาสตร์
เป็นการให้เด็กรู้จักตัวเลขที่เห็นหรือใช้อยู่ในชีวิตประจำวันให้เด็กโดยการเรียนรู้เกี่ยวกับสัญลักษณ์ตัวเลข จำนวน การอ่านคำ การนับ การบวก การเปรียบเทียบ และการบอกเหตุผล โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ต้องสอดคล้องกับวัยและพัฒนาการของเด็ก เด็กได้ลงมือปฏิบัติและได้คิดบรรยากาศการเรียนไม่เคร่งเครียดกิจกรรมได้รับการวางแผนอย่างดีสร้างความคุ้นเคยกับตัวเลขให้เด็กได้นับและคิดเอง

                        อ้างอิงจากหนังสือ

เทคนิคการสอนคณิตศาสตร์ระดับประถมศึกษา, สุวร กาญจนมยูร,2538:2, เลขหมู่หนังสือ 510.7
การจัดกิจกรรมการเรียนรู้สำหรับเดฝ้กปฐมวัย,ดร.กุลยา ตันติผลาชีวะ,25533:154-164,เลขหมู่หนังสือ 372.21 ก728ก ฉ.4

  อาจารย์ประเมินในงานที่สั่งทำทั้งงานเดี่ยวและงานกลุ่ม แนะนำและปรับปรุงในงานชิ้นต่อๆไป

  • จากการเรียนวันนี้ได้ทักษะ
  • การสรุปความ
  • การค้นหา

กิจกรรมเพลง

  • เรียกเด็กเข้ากลุ่ม

ที่อาจารย์ร้องเพลงให้ฟังก่อน เพื่อ .... ให้จำเนื้อร้องได้ และรู้จักความหมาย


** อาจารย์แนะนำว่า ทุกครั้งเมื่อมีการไปค้นคว้าจากหนังสือ ให้ใส่อ้างอิงมาด้วยทุกครั้ง

บันทึกการเข้าเรียน ครั้งที่ 2


บันทึกการเข้าเรียน ครั้งที่ 
วัน พฤหัสบดี ที่ 8 พฤศจิกายน 2555 (ตอนเช้า)
วิชา การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

อ.แจกกระดาษ
   เรียนเกี่ยวกับการแบ่งกลุ่ม
       แบ่งเป็น 2 กลุ่ม โดยใช้หลักเกณฑ์
       1. นับเลข 1 กับ 2
       2. จับฉลาก
       3. แบ่งตาม ผลสั้น-ผมยาว โดยมีหลักดังนี้ ผมสั้นต้องห้ามเลยบ่า ผมยาวต้องเลยบ่าลงไป
           ***การแบ่งกลุ่มจะต้องใช้หลักเกณฑ์และแบ่งให้เท่าๆกัน

     อาจารย์ได้ให้นักศึกษาลองมองรอบๆตัวว่าอะไรเป็น คณิตศาสตร์บ้าง โดยให้นักศึกษาได้มีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น เช่น ประตู หน้าต่าง น้ำหนัก ส่วนสูง ฯลฯ สิ่งต่างๆเหล่านี้ที่นักศึกษาร่วมกันแสดงความคิดเห็นนั้นจัดอยูในรูปของสิ่งต่อไปนี้ คือ
       รูปร่าง รูปทรง การวัด จำนวน การเปรียบเทียบ

    จากนั้นอาจารย์ได้เอ่ยถึงเรื่องสมอง ว่าสมองทำงานอย่างไร มีสมองส่วนได้บ้าง
งานที่อาจารย์ได้มอบหมายในสัปดาห์นี้ คือ ให้นักศึกษาไปห้องสมุดแล้วหาข้อมูลเกี่ยวกับหัวข้อดังนี้
สำรวจรายชื่อหนังสือคณิตศาสตร์  บอก ชื่อหนังสือ ผู้เขียน ปีที่พิมพ์ เลขหมู่หนังสือ และเลือกมา 1 เล่ม
2 ดูหนังสือเลือกมา 1 คน  หาความหมายของคณิตศาสตร์บอกว่าใครให้ความหมาย  เขียนอ้างอิงหนังสือเล่มนั้น     ชื่อ________หน้า______ชื่อหนังสือ_____พ.ศ._____
3. จุดมุ่งหมายของการสอนคณิตศาสตร์
4. ทฤษฎีการสอนคณิตศาสตร์ หรือ วิธิการสอนคณิตศาสตร์
5. ขอบข่าย หรือ เนื้อหาของคณิตศาสตร์


วันอาทิตย์ที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

บันทึกการเข้าเรียน ครั้งที่ 1

บันทึกการเข้าเรียน ครั้งที่ 
วัน พฤหัสบดี ที่ 1 ตุลาคม 2555 (ตอนเช้า)
วิชา การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

         อาจารย์ได้แนะนำวิชา การเรียนเกี่ยวกับคณิตศาสตร์สำหรับเด็ก ว่าเรียนอย่างไร ได้อะไรบ้าง
อาจารย์ได้ให้นักศึกษาคิดประโยชน์ เพียง 2 ประโยชน์ โดยมีหัวข้อที่ว่า ให้คิดและเขียนประโยชน์ 2 ประโยชน์ เกี่ยวกับคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยในความคิดของเรา และอีกหัวข้อ หนึ่งคือ นักศึกษาคิดว่าจะได้อะไรในการเรียน วิชา การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยโดยใช้ความคิดของเราเอง
        อาจารย์ได้ถามคำสำคัญในประโยค การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยว่ามีคำอะไรบ้างและมีกี่คำตอบคือ
มี 3 คำ ได้แก่ การจัดประสบการณ์างคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย


       พัฒนาการ คือ การเจริญเติบโตหรือการเปลี่ยนแปลงให้เป็นไปตามลำดับขั้นตอนอย่างต่อเนื่อง เช่น การพลิกตัว คว่ำ คืบ คลาน นั่ง ยืน เดิน วิ่ง
       การเรียนรู้ คือ การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม

  การเรียนรู้เกิดขึ้นได้นั้น
  1. เกิดจากการที่เรามีประสบการณ์
  2. ลงมือกระทำโดยใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5
 เรียนรู้ไปเพื่ออะไร
  1. พัฒนาตนเองไปในทางที่ดี
  2. เพื่อให้ตัวเองใช้ชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข